วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สื่อทางเสียง

จัดทำโดย
นางสุธีรา มงคล
นางบัวสอน ชาวกล้า
นางธัญญธรณ์ แจคำ
นางสาวศิริรัตน์ สุวรรณ
นางสาวศุภัคษร พรหมสิทธิ์
นางสาวสุพรรษา คำพันธ์

.........................................

สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทักษะประสบการณ์จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ สื่อทางเสียงนับเป็นสื่อที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นเครื่องมือเพื่อใช้ในการถ่ายทอดเสียงจากครูผู้สอน ทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจมากกว่า การเห็นภาพเพียงอย่างเดียวการใช้สื่อทางเสียงช่วยใน
การจัดการเรียนการสอนจำเป็นต้องมือเครื่องมือประเภทโสตทัศนูปกรณ์เข้ามาร่วมด้วยเช่น เครื่องเสียง ไมโครโฟน โสตวัสดุ เช่นเครื่องเครื่องบันทึกเสียง เครื่องรับวิทยุ เครื่องเล่นแผ่นเสียง แผ่นเสียง เครื่องขยายเสียง เป็นต้นเครื่องเสียง เครื่องเสียงมีลักษณะที่เป็นอุปกรณ์ที่เป็นสื่อกลางหรือตัวผ่านใน การถ่ายทอดเนื้อหาประเภทเสียงจากมนุษย์และแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆให้มี
เสียงดังเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้ได้ยินในระยะไกลและเพิ่มความดังของเสียงเพื่อ ให้ผู้ฟังจำนวนมากได้ยินอย่างชัดเจน

องค์ประกอบของเครื่องเสียงประกอบด้วยภาคสัญญาณเข้า(ไมโครโฟน)ภาคขยาย สัญญาณ ภาคสัญญาณออก (ลำโพง)
เครื่องเทปเสียง
เครื่องเทปเสียงเป็นอุปกรณ์ในภาคสัญญาณเข้า เพื่อบันทึกเสียงต่าง ๆ ลงบนแถบเทปโดยใช้การเคลื่อนที่ของแถบเทปผ่านหัวเทปซึ่งอาศัยหลักการเหนี่ยวนำของคลื่อนไฟฟ้าความถี่เสียง เมื่อบันทึกเสียงแล้วจะมีการนำมาเล่นเพื่อส่งไปยังภาคขยายสัญญาณและ
ถ่ายทอดเป็นคลื่นเสียงธรรมชาติให้ได้ยินต่อไปประเภทของเครื่องเทปเสียงเครื่องเทปเสียงแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทตามลักษณะของตลับเทป ได้แก่

1. แบบม้วนเปิด (open reel ) เป็นเทปบันทึกเสียงที่ให้คุณภาพเสียงดี เหมาะสำหรับการใช้งานระดับมืออาชีพ เช่น เสียงดนตรี รายการวิทยุ เป็นต้น

2. แบบกล่อง ( cartridge ) หรือเรียกทับศัพท์ว่า “เทปคาทริดจ์” เป็นเทปที่บรรจุอยู่ในกล่องมีขนาดความกว้างแถบเทป ¼ นิ้ว พันเป็นวงปิดระหว่างวงล้อ 2 วงโดยจะมีการเล่นเทปวนซ้ำไปมาไม่รู้จบ เทปแบบนี้นิยมใช้งานสปอตวิทยุ

3. แบบตลับคาสเซต ( cassette ) เป็นเทปบันทึกเสียงที่อยูในตลับพลาสติกแบน เป็นแบบที่นิยมใช้กันทั่วไป มีขนาดความกว้างแถบเทป 1/8 นิ้ว

4. แบบตลับคาสเซตเล็ก ( micro cassette ) มีลักษณะเช่นเดียวกับเทปคาสเซตธรรมดาแต่บรรจุในตลับขนาดเล็กกว่า มีความยาวในการเล่นเพียง 15 นาทีเท่านั้น

การใช้งาน

เครื่องเทปเสียงจะมีขั้นตอนสำคัญในการใช้งาน 3 ลักษณะ

1. การบันทึกเสียง (record) เครื่องเสียงเทปไม่ว่าประเภทใดก้ตาม จะมีการบันทึกเสียงลงบนแถบเทปโดยอาศัยหลักการเดียวกัน คือ คลื่อเสียงที่ป้อนเข้าไมโครโฟนซึ่งเป้นตัวส่งสัญญาณไฟฟ้าจะถูกเปลี่ยนแปลงเป็นกระแสไฟฟ้าความถี่เสียง แล้วขยายโดยเครื่องขยายเสียงให้กำลังแรงขึ้นเพื่อส่งไปยังหัวเทปซึ่งมีลักษณะเป็นขดลวดพันรอบแกนเหล็ก

2. การเปิดฟัง (play back) เป็นการนำแถบเทปที่มีการบันทึกเสียงแล้วในรูปของพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้ามาเปิดฟัง โดยขณะที่แถบเทปเคลื่อนผ่านหัวเทปจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าความถี่เสียง แล้วส่งต่อไปยังเครื่องขยายเสียง

3. การลบเทป (erase) เป็นการลบเสียงที่บันทึกไว้แล้วโดยการให้แถบเทปเคลื่อนที่ผ่านหัวเทปหรือสนามแม่เหล็กที่มีกำลังสูง ซึ่งจะทำให้โมเลกุลแม่เหล็กบนแถบเทปถูกทำให้เป็นระเบียบใหม่และจะทำให้เสียงที่บันทึกไว้แล้วหายไป

ตัวอย่างสื่อทางเสียง

วิทยุ

วิทยุ เป็นสื่ออุปกรณ์สื่อสารในการรับส่งข่าวสารข้อมูลทางเสียงโดยใช้คลื่นแม่ เหล็กไฟฟ้าโดยไม่ต้องใช้สาย การใช้วิทยุเพื่อเป็นสื่อมวลชนเพื่อการศึกษาในประเทศไทยเริ่มมีตั้งแต่ปี พ.ศ.2497 โดยใช้วิทยุการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน ถ้าเป็นการศึกษาในระบบโรงเรียนจะรียกว่า “วิทยุโรงเรียน” ถ้าเป็นการศึกษานอกระบบโรงเรียนจะเป็นในลักษณะของ “วิทยุไปรษณีย์” ซึ่งเราเรียกวิทยุในการศึกษานี้รวมกันว่า “วิทยุศึกษา”

การใช้วิทยุเพื่อการศึกษา

การใช้วิทยุเพื่อการศึกษาสามารถนำมาใช้ในรูปแบบต่างๆ ได้แก่

1.การสอนโดยตรง เป็นการใช้วิทยุเพื่อเป็นสื่อสอน โดย ตรงในบางวิชาหรือบางตอนของบทเรียน รายการวิทยุที่ใช้สอนจึงเป็นการเสนอเนื้อหาตามบทเรียนในหลักสูตร การบทเรียนทางวิทยุเพื่อการสอนโดยตรงนี้อาจใช้ได้ในสถานที่ ที่ขาดแคลนครู หรือครูผู้สอนอาจไม่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นเพียงพอก็ได้จึงต้องใช้ รายการวิทยุแทน การสอนโดยใช้วิทยุสามารถกระทำได้ดังนี้

ก.ใช้เป็นเครื่องมือในการสอน โดยผู้สอนจะวางแผนการสอนโดยนำรายการวิทยุเข้าไว้ในกระบวนการสอนด้วย หรือการใช้วิทยุเป็นสื่อเข้ามามีบทบาทเพื่อสอนเรื่องใดเรื่องหนึ่งแทนผู้สอน โดยตรงในห้องเรียน ซึ่งผู้สอนจะต้องศึกษาจากตารางการออกอากาศที่กำหนดไว้เพื่อนำรายการนั้นมา
สอนให้ตรงกับเวลาของตน

ข.ใช้เป็นแหล่งการเรียนรู้ เป็นการบันทึกเสียงรายการวิทยุที่ใช้สอนบทเรียนต่างๆ ไว้ในเทปเสียง แล้วรวบรวมไว้ในห้องสมุด เพื่อให้ผู้เรียนสามารถขอยืมออกไปเปิดฟังและสึกษาด้วยตนเองเพื่อการเรียนรู้ หรืออาจใช้เพื่อการทบทวนบทเรียนและสอนเป็นกลุ่มย่อยก็ได้

ค.ใช้เป็นสื่อหลักในการในการศึกษาตามหลักสูตร ด้วยการจัดการสอนแก่ผู้เรียนในระบบการศึกษาแบบทางไกล โดยให้ผู้เรียนฟังรายการสอนจากวิทยุเป็นหลักแล้ศึกษาเพิ่มเติมจากสื่ออื่นๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์หรือการพบกลุ่ม เพื่อเสริมความรู้จากบทเรียนตามที่ได้ฟังมา

ง.เป็นสื่อเสริมในการศึกษาระบบเปิด ด้วยการใช้รายการวิทยุเป็นสื่อเสริมประเภทหนึ่งในระบบการศึกษาทางไกล โดยใช้ร่วมกับสื่ออื่นๆ เช่น โทรทัศน์หรือสิ่งพิมพ์เป็นต้น

จ.ใช้เป็นอุปกรณ์ในการฝึกอบรม เป็นการใช้รายการวิทยุหรือเทปบันทึกเสียงรายการนั้นๆ เพื่อการสอนหรือฝึกอบรมในหน่วยงาน

2.การเพิ่มคุณค่าในการสอน เป็น การใช้รายการวิทยุเพื่อปรุงแต่งและเสริมคุณค่าของการสอนในบางวิชาให้มี ประสิทธิผลสูงขึ้น โดยการเสนอรายการที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรบทเรียนนั้นให้งเพื่อ ให้มีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่เรียนนั้นแตกฉานยิ่งขึ้น เช่น การสอนภาษาต่างประภาษาต่างประเทศโดยพูดจากเจ้าของภาษา การบรรเลงดนตรี เป็นต้น

วิทยุโรงเรียนคืออะไร

วิทยุ โรงเรียนเป็นสื่อการเรียนการสอนอย่างหนึ่ง ซึ่งจัดเป็นบริการสื่อเพื่อการศึกษา สำหรับโรงเรียนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาทั่วประเทศ วิทยุดโรงเรียนเป็ยสื่อประสมกล่าวคือเป็นการใช้สื่วิทยุกระจายเสียง ประกอบกับสื่อสิ่งพิมพ์ คือ คู่มือการสอนของครู บัตรภาพ บัตรคำ สำหรับนักเรียนด้วยเนื้อหา ของบทเรียนวิทยุโรงเรียนได้จัดให้สอดคล้องกับเนื้อตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันวิทยุโรงเรียนจัดทำบทเรียนรายวิชาต่างๆ สำหรับระรับประถมศึกาทุกกลุ่ม

ประวัติการดำเนินงานโครงการวิทยุโรงเรียน

ความเป็นมา กระทรวง ศึกษาธิการ ได้ดำเนินงานโครงการจัดตั้งบริการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497 โครงการนี้มีนโยบายใช้วิทยุเป็นสื่อนำวิทยาการใหม่ๆ ทั้งนี้โดยกำหนดการจัดรายการเป็น 2 ภาค คือ
1. การกระเสียงภาคเพื่อความรู้ความบันเทิงแก่ประชาชนทั่วไป เรียกว่า ภาควิทยุเพื่อการศึกษา
ประชาขน

2. การ กระจายเสียงเพื่อการศึกษาในโรงเรียน เรียกว่า ภาควิทยุโรงเรียน เรียกว่า ภาควิทยุโรงเรียน
เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปีการศึกษา 2501 เป็นต้นมา

วิทยุโรงเรียนช่วยการเรียนการสอนได้อย่างไร

วิทยุ โรงเรียรจัดทำขึ้นเพื่อช่วยปรับปรุงและส่งเสริมคุณภาพการเรียนการสอนในห้อง เรียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นบทเรียนวิทยุโรงเรียนช่วยสอนโดยตรงในบางวิชา และช่วยสาธิตการสอนในบางวิชา เพื่อให้แนวทางและเสนอแนะเทคนิคการสอนใหม่ๆ แก่ครู สำหรับนักเรียนวิทยุโรงเรียนช่วยนำประสบการณ์จากโลกภายนอกมาสู่ห้องเรียน ทำให้การเรียนการสอนมีชีวิตชีวาขึ้นนอกจากนี้วิทยุโรงเรียนยังเป็นสื่อการ สอนที่เป็นประโยชน์มากสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก หรือโรงเรียนที่ขาดครูเฉพาะบางวิชาอีกด้วย

สำหรับครู

บทเรียนวิทยุโรงเรียนช่วยการสอนในห้องเรียนของครูตามแนวหลักสูตรใหม่ รวมทั้งช่วยเสริมเนื้อหาของหลักสูตรให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ครูผู้สอนให้แนวคิด และเทคนิคการสอนแปลกๆ ใหม่ๆ ที่น่าสนใจ เพื่อนำไปปรับปรุงการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นวิทยุโรงเรียนช่วยครูสอนได้ในวิชาที่ถนัด หรือมีประสบการณ์น้อ เช่น วิชาดนตรีและนาฏศิลป์ ภาษา

สำหรับนักเรียน

บทเรียนโรงเรียนมีกิจกรรมโรงเรียนที่เร้าความสนใจของนักเรียนทำให้นักเรียนสนุกสนานกับบทเรียนวิทยุโรงเรียนมีเทคนิคการสอนที่ช่วยนักเรียนเข้าใจเนื้อหาบทเรียนง่ายขึ้น และเกิดความคิดรวบยอดที่ถูกต้องช่วยนำประสบการณ์ใหม่ๆ จากโลกภายนอกมาสู่ห้องเรียนช่วยให้นักเรียนมีความรู้ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน